ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น
1) Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ
2) Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น
3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น
2. ต่อมไทรอยด์
ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท
2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย
3. ต่อมพาราไทรอยด์
ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อ พาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา
4. ตับอ่อน
ลักษณะเป็นต่อมขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหาร ใกล้กับลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม ซึ่งเป็นลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ จะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ดังนี้
1) อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่าน เข้าเซลล์และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ ปกติ
2) กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น
5. ต่อมหมวกไต ( adrenal gland )
เป็นก้อนสีเหลืองๆ อยู่เหนือไตข้างละ 1 ต่อม
ต่อมหมวกไตในผู้ใหญ่ประกอบด้วยต่อมไร้ท่อ 2 ต่อม คือต่อมหมวกไตส่วนนอกเจริญมาจากเซลล์มีเซนไคมาส (mesenchymas) ของชั้นมีโซเดิร์มของตัวอ่อน ต่อมหมวกไตส่วนในเจริญมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเดียวกับเซลล์ประสาท
ในทารกต่อมหมวกไตจะมีขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากขาดสารเร่งปฏิกิริยา จึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเหล่านี้ได้ ผลิตได้แต่สารที่จะเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนอีสโทรเจนที่รก
แบ่ง ฮอร์โมนออกเป็น 3 กลุ่ม ที่สำคัญ คือ
1) Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยนไกลโคเจนในตับ และกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะทำให้อ้วน อ่อนแอ หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูง
2) Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้ คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อไต ถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกาย สูญเสียน้ำและโวเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลง จนอาจทำให้ผู้ป่วยตาย เพราะความ ดันเลือด ต่ำ
3) Sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง
4) อะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
4.1) Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด
4.2) Noradrenlin hormone หรือ Norepinephrine hormone กระตุ้นให้เส้นเลือดมีการบีบตัว ผลอื่นคล้ายๆ adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า
6. ต่อมเพศ
ในชายได้แก่อัณฑะและในหญิงได้แก่รังไข่ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 อย่างคือ สร้างเซลสืบพันธ์และสร้างฮอร์โมน6.1ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งจะทำหน้าที่หลายอย่างคือ
1) ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์
2) ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกระดูกเพิ่มขึ้น
3) กระตุ้นการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเอ็นไซม์
4) ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเพศชาย
1)
ในเด็ก
– ทำให้อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ– ไม่มี Secondary sexual characteristic
– มีไขมันสะสมมากขึ้น แขนขายาวผิดปกติ
– เป็นหมัน
– ไม่มีความรู้สึกทางเพศ มีลักษณะไปทางเพศหญิง
ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์และลักษณะต่างๆของความเป็นเพศหญิง ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์คือ ระงับไม่ให้ไข่สุกระหว่างตั้งครรภ์ป้องกันไม่ให้มีประจำเดือนระหว่างตั้งครรภ์ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกชั้นในเพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสม และกระตุ้นต่อมน้ำนมให้เจริญเติบโต
– ไม่มีเลือดประจำเดือน
– มีลักษณะคล้ายชาย
– ไม่มีความรู้สึกทางเพศ
– มีลักษณะคล้ายชาย
– ไม่มี Secondary sexual characteristic
7.ฮอร์โมนจากรก
โกนาโดโทรฟินจากรก สามารถวัด
HCG
ในปัสสาวะของมารดาได้ตั้งแต่วันที่ 9 ของการตั้งครรภ์และระดับจะสูงขึ้นระหว่างสัปดาห์ที่ 9-12 หลังจากนั้นจะลดลง การตรวจพบ HCG ในปัสสาวะหรือเลือดใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงการตั้งครรภ์ HCG ทำหน้าที่ยืดอายุการทำงานของคอร์ปัสลูเทียม
กระตุ้นการสร้างและหลั่งฮอร์โมนณัแลกซินเพื่อยับยั้งการหดตัวของมดลูก
Human chorionic somatomammotropin (HCS) เป็นฮอร์โมนชนิดเปปไทด์ประกอบด้วยกรดอะมิโน
191 หน่วย มีโครงร้างเหมือนฮอร์โมน โซมาโทโทรฟินหรือโกรทฮอร์โมน
และโพรแลกทิน แต่มีผลแบบโพรแลกทินสูงกว่าโกรทฮอร์โมน ขณะที่ระดับ HCG ลดต่ำลงหลังจาก 3 เดือนของการตั้งครรภ์ รกจะสร้าง
HCS ในสัปดาห์ที่ 4 และจะเพิ่มระดับขึ้น
เรื่อยๆ จนถึงระดับสูงสุดเมื่อใกล้คลอด
โพรเจสเทอโรน รกจะเริ่มสร้างโพรเจสเทอโรนในสัปดาห์ที่
6 ของการตั้งครรภ์ถึงระดับสูงสุดเมื่อใกล้คลอด
โพรเจสเทอโรนถูกขับทิ้งทางปัสสาวะ
โพรเจสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับการตั้งครรภ์โดยเตรียมเยื่อบุมดลูกเพื่อรับตัวอ่อน
ทำงานร่วมกับฮอร์โมนรีแลกซิน
ลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของแม่ไม่ให้ต่อต้านการมีทารกซึ่งเปรียบเสมือนเซลล์แปลกปลอมในร่างกายของแม่
เอสโทรเจน รกสร้างเอสโทรเจนได้ทั้งเอสทราไดออล
เอสโทรนและเอสไทรออล แต่สร้างเอสไทรออลได้มากกว่าฮอร์โมนอีก
2 ชนิดและมีระดับเพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์คือช่วยในการพัฒนเต้านมและทำให้กล้ามเนื้อมดลูกมีขนาดโตขึ้น
ทำให้เอ็นยึดต่างๆในอุ้งเชิงกราน และ หังหน่าว
ช่วยให้บริเวณช่องคลอดขยายออกได้กว้างขึ้น
8.ต่อมไพเนียลหรือต่อมเหนือสมอง (Pineal gland)
ต่อมไพนีล เป็นต่อมเล็กๆ รูปไข่ หรือรูปกรวย คล้าย ๆ
เมล็ดสน (pine cone) เป็นที่มาของชื่อ pinel
gland ลักษณะค่อนข้างแข็ง สีน้ำตาล ขนาดยาวจากหน้าไปหลัง ๕-๑๐
มิลลิเมตร กว้าง และสูง ๓-๗ มิลลิเมตร หนัก ๐.๒ กรัม
ยื่นมาจากด้านบนของไดเอนเซฟฟาลอน หรืออยู่ด้านล่างสุดของโพรงสมองที่สาม
ประกอบด้วยเซลล์ 2 ประเภท คือ เซลล์ไพเนียล( pinealocytes) และ เซลล์ไกลอัน (glial cell) จัดอยู่ในระบบประสาทคือ การรับตัวกระตู้การมองเห็น(visual
nerve stimuli) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นดวงตาที่ 3 ทำหน้าที่ควบคุมร่างกาย โดยทำงานร่วมกับ ต่อมไฮโปทารามัส (Hypothalamus) ซึ่งต่อมไฮโปทารามัส จะทำหน้าที่เกี่ยว ความหิว ความกระหาย เรื่องเซ็กส์
และนาฬิกาชีวิตซึ่งควบคุมอายุของมนุษย์ และเป็นต่อมไร้ท่อทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน
ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล (pineal gland)
อยู่ บริเวณกึ่งกลางของสมองส่วนซีรีบรัมซ้ายและขวา
ฮอร์โมนที่สร้างจาากต่อมนี้ คือ เมลาโทนิน ยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์
ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้าลง ระงับการหลั่ง โกนาโคโพรฟิน ให้น้อยลง
ถ้าต่อมไพนิลไม่สามารถสร้างเมลาโทนินได้ จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่าปกติ
แต่ถ้าสร้างมากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าปกติ
ต่อมไพเนียลทำหน้าที่เหมือนตัวกลางที่จะรับรู้ความยาวของกลางวันและกลางคืนและส่งสัญญาณในรูปของฮอร์โมนเมลาโทนินไปยังระบบต่างๆ
เมื่อแสงสว่างผ่านเลนส์แก้วตาไปตกกระทบกับจอรับภาพบริเวณส่วนหลังสุดของลูกตาที่เรตินา(retina)
ที่มีใยประสาทมาเลี้ยง จะส่งกระแสประสาทไปที่
ศูนย์รวมเส้นประสาทที่อยู่เหนือใยประสาทที่ไคว้กันเหนือสมองหรือ
นิวเคลียสซูพราไคแอสมาติก( suprachiasmatic nuclei) ผ่านเส้นประสาทซิมพาเทติกจนถึงที่ปมประสาทซูพีเรีย
เซอร์วิคัล (superior cervical ganglion) แล้วส่งต่อไปที่ต่อมไพเนียล
9. ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
ตับอ่อน (Pancreas) ตั้งอยู่ที่ด้านบนซ้ายของช่องท้อง
โดยวางตัวจากส่วนโค้งของลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม (duodenum ) ถึงม้าม
(spleen) และด้านหลังของกระเพาะ (stomach) มีลักษณะค่อนข้างแบน
มีความยาวประมาณ 12 –15 เซนติเมตร ตับอ่อนทำหน้าที่ทั้งเป็นต่อมมีท่อคือการสร้างน้ำย่อยไปที่ลำไส้เล็กและเป็นต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมนเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนจะรวมกันเป็นกลุ่มมีชื่อว่า ไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ (
Islets of Langerhans ) มีปริมาณ 1 – 3 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อตับอ่อนทั้งหมด
ฮอร์โมนที่สร้างจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
1) ฮอร์โมนอินซูลิน
( Insulin )
- สร้างจากเบต้าเซลล์ ( beta cell ) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่รอบนอกของกลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
- อวัยวะเป้าหมาย ตับ,กล้ามเนื้อ
- หน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด (ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ 80 - 100
มิลลิกรัม / 100 ลบ.ซม. ) โดยเพิ่มการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ตับ กระตุ้นให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นไกลโคเจน(
โมเลกุลของคาร์์โบไฮเดรตที่สร้างจากกลูโคส )เก็บสะสมไว้ภายในเซลล์
- ความผิดปกติ เกิดโรคเบาหวาน( diabetes
mellitus)โรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้าง ฮอร์โมนอินซูลิน(lnsulin)ได้น้อยหรือไม่ได้เลยทำให้เซลล์้ตับและเซลล์กล้ามเนื้อไม่สามารถเปลี่ยนกลูโคสในเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บสะสมไว้ภายในเซลล์ได้จึงเกิดการสะสมของน้ำตาลในเลือดเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมีมากเกินปกติก็จะถูกไตขับออกมาในปัสสาวะ
ทำให้ปัสสาวะหวาน หรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่าเบาหวาน
- อาการของผู้ป่วยที่ที่เป็นเบาหวาน มักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก
เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ
ต้องคอยดื่มน้ำบ่อย ๆ ผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน
จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทนทำให้ความเป็นกรดในเลือดสูง กลไกการหายใจผิดปกติ
ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรง การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ
ทำให้อวัยวะต่าง ๆเกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย เช่น โรคตาต้อหิน
โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไต โรดหัวใจ โรคความดันเลือดสูง เป็นต้น ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง
(atherosclerosis) ทำให้เป็นโรคความดันโลหิต
สูง, อัมพาต, โรคหัวใจขาดเลือด
ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท้า ไม่พออาจทำให้เท้าเย็น
เป็นตะคริวหรือ ปวดขณะเดินมาก ๆ หรืออาจทำให้ เป็นแผลหายยากหรือเท้าเน่า (
ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ )เป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ
เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอับเสบ ,กรวยไตอักเสบ, กลาก , โรคเชื้อรา
, ช่องคลอดอักเสบ (ตกขาวและคันในช่องคลอด ) , เป็นฝี หรือพุพองบ่อย,เท้าเป็นแผล
ซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า(อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา)
2) ฮอร์โมนกลูคากอน ( Glucagon )
- สร้างจาก แอลฟาเซลล์( alpha cell ) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ส่วนในและเป็นเซลล์ส่วนใหญ่ของกลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์(
ดูภาพด้านบน )
- อวัยวะเป้าหมาย ตับ,กล้ามเนื้อ
- หน้าที่ เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นให้เซลล์้ตับและเซลล์กล้ามเนื้อเปลี่ยนไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด
เพิ่มการสังเคราะห์กลูโคสจากกรดอะมิโนและกรดไขมัน
อ้างอิง
ขอบคุณมาค้ะ เป็นประโยชน์มากๆค้ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบ